วันพุธที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2557

หอมแผ่นดินตอน "ความฝันของลุงบุญมี"

มาตรฐานเกษตรอินทรีย์

ข้าวอินทรีย์ ตราลุงบุญมี มาตรฐานสากล

https://www.facebook.com/kasedtipboonmeeorganicrice

มาตรฐานเกษตรอินทรีย์สากล ที่ได้รับการรับรอง
- IFOAM 
http://www.actorganic-cert.or.th/page/item/582






- EU Standard 
http://www.actorganic-cert.or.th/page/item/584








- NOP Standard 
http://www.actorganic-cert.or.th/page/item/592

วันอังคารที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2557

ความเป็นมา "ข้าวอินทรีย์ ลุงบุญมี



ชาวนาดีเด่น ยึดหลักพอเพียง พลิกชีวิตจากยากจนสู่ความสุข

สมัยก่อนอาจมีคำกล่าวว่า ชาวนาคือกระดูกสันหลังของชาติ เป็นการเห็นความสำคัญของชาวนา แม้ว่าปัจจุบันคำกล่าวที่ว่านี้ ยังใช้ได้อยู่เพราะในความเป็นจริงชาวนายังคงมีความสำคัญเช่นเดิม แต่จะมีใครที่เห็นความสำคัญของพวกเขา ทั้งที่ชาวนาส่วนใหญ่ยากจน กระนั้นยังมีแต่คนเอารัดเอาเปรียบชาวนา...ชาวนาไทยจำนวนมากที่ต้องประสบปัญหาทุกข์ยาก เนื่องจากการทำนาในยุคสมัยนี้มีต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น โดยเฉพาะจากปัจจัยการผลิตในเรื่องของ ปุ๋ยเคมีและสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ทำให้รายได้จากขายข้าวนั้นไม่คุ้มค่ากับการลงทุน นายบุญมี สุระโคตร อยู่บ้านเลขที่ 155 หมู่ 7 บ้านอุ่มแสง ต.ดู่ อ.ราษีไศล จ.ศรีสะเกษ เป็นชาวนาคนหนึ่งที่ประสบปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้กระทั่งต้องหาทางปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตโดยน้อมนำ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ควบคู่กับการหวนคืนสู่การปลูกข้าวแบบอินทรีย์ เพื่อลดรายจ่าย ลดต้นทุนการปลูกข้าว สร้างความยั่งยืนในอาชีพ



ที่สำคัญเแนวทางปฏิบัติเหล่านี้ส่งผลให้เขาได้รับการคัดเลือกให้เป็นเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ สาขาอาชีพทำนา

นายบุญมี เล่าว่า การทำนาในสมัยก่อนก็จะเน้นการใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีอย่างมาก ทำให้รายได้ที่ได้มาจากการขายข้าวหมดไปกับต้นทุนการผลิตเกือบทั้งหมด เมื่อเป็นอย่างนี้จึงเริ่มปรับเปลี่ยนหันมาดูเรื่องการทำนาแบบอินทรีย์ โดยเริ่มจากการลดการใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีมาตั้งแต่ปี 2544 เป็นต้นมา และได้น้อมนำแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ด้วยการลดรายจ่าย ลดต้นทุนการผลิต ควบคู่กับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เริ่มจากการไม่เผาตอซัง หันมาไถกลบตอซังและหว่านพืชปุ๋ยสด



ปัญหาสำคัญอีกอย่างหนึ่งของชาวนาคือเรื่องน้ำ โดยเฉพาะในพื้นที่นอกเขตชลประทาน น้ำจะไม่เพียงพอทำให้เราทำนาได้เพียง 1 ครั้งต่อปี ดังนั้นจึงได้ตัดสินใจขุดแหล่งน้ำสำรองไว้ใช้ในนา เป็นการเพิ่มศักยภาพการผลิตข้าวได้มากขึ้นเป็น 2 ครั้งต่อปี ซึ่งแต่เดิมจะทำนาในฤดูทำนาปีในพื้นที่ 22 ไร่เท่านั้น แต่ตอนนี้เมื่อมีแหล่งน้ำเราสามารถทำนาปรังได้อีกครั้งในพื้นที่ 5 ไร่ ส่งผลให้มีรายได้เพิ่มขึ้นจากเดิม




ผมทำนาปีละ 2 ครั้ง เป็นการทำนา 3 ประเภท คือ นาดำ นาหว่าน และนาโยน ใช้ข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ผลผลิตนาดำ 520 กก./ไร่ นาหว่าน 500 กก./ไร่ และนาโยน 540 กก./ไร่ ในปี 2553 มีรายได้ทั้งสิ้น 144,500 บาท ซึ่งเป็นรายได้ที่เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา นอกจากนั้นยังได้ผลิตปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ด และแปรรูปผลผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 เป็นข้าวกล้อง และข้าวกล้องงอก จำหน่ายให้แก่สมาชิกเกษตรกรในละแวกใกล้เคียงและต่างจังหวัดในนามกลุ่มเกษตรทิพย์และข้าวตราลุงบุญมี นายบุญมี กล่าว



นอกจากพัฒนาพื้นที่นาของตนจนสามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพแล้ว นายบุญมียังอุทิศตนเป็นวิทยากรประจำกลุ่มเกษตรทิพย์ เพื่อถ่ายทอดความรู้เรื่องเกษตรอินทรีย์ให้กับเกษตรกรและผู้สนใจ ตลอดจนเป็นวิทยากรรับเชิญไปบรรยายเรื่อง การผลิตข้าวอินทรีย์ การผลิตข้าวคุณภาพการแปรรูปเพื่อการค้าตามโรงเรียนและสถานที่ราชการต่าง ๆ


ติดต่อ ศึกษาดูงาน, สนใจสั่งซื้อสินค้า, สนใจเป็นตัวแทนจำหน่าย, ส่งออก
โทร. 086-868-1139, 086-322-8953
E-mail : kasedtip@gmail.com , kasedtip@hotmail.com